วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

การใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ความหมายของสถิติ
สถิติ (statistics) ให้ความหมายกว้าง ๆ ได้ 2 ประการ คือ
1. สถิติ หมายถึง ข้อความจริง หรือตัวเลขซึ่งได้รวบรวมไว้เพื่อความหมายที่แน่นอน
เช่น สถิติพลเมือง สถิติจำนวนอุบัติเหตุในรอบปี สถิติจำนวนผู้ป่วยที่มารักการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหนึ่ง สถิติคนไข้เป็นโรคมะเร็ง สถิติชีพ สถิติอนามัย และดรรชนีอนามัย เป็นต้น
2. สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อความจริงและตัวเลขที่แสดง
ข้อเท็จจริงซึ่งเรียกว่า ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความตลอดจนการสรุปผลข้อมูล เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจที่มีเหตุผล
สถิติในความหมายแรก จะหมายถึง สถิติในฐานะที่เป็นตัวเลขซึ่งเรียกว่า ข้อมูลทางสถิติ ส่วนสถิติในความหมายที่สอง จะเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า สถิติศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนกหนึ่งที่ประยุกต์มาจากคณิตศาสตร์ ทฤษฎีทางสถิติจึงมีความเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างมาก เช่น ทฤษฎีความน่าจะเป็น ทฤษฎีการแจกแจง ทฤษฎีการประมาณ ทฤษฎีการทดสอบสมมติฐาน ในทางปฏิบัติ กระบวนการทางสถิติ จะต้องดำเนินการตามระเบียบวิธีทางสถิติ ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความหมายหรือการตีความข้อมูล

สถิติชีพ (vital statistics)

สถิติชีพ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของประชาชน เพื่อให้ทราบถึงสภาพการณ์ของสุขอนามัยของประชาชน และการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกันได้ ได้แก่ ประชากร การเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐาน และการหย่าร้าง สถิติชีพจึงจัดเป็นแขนงที่สำคัญแขนงหนึ่งของสถิติพรรณนา (descriptive statistics) เพื่อใช้เป็นหลักสำคัญในการอธิบายสภาวะสุขภาพ และอนามัยของประชากร โดยมีการอธิบายในรูปแบบของตัวเลข หรืออัตราต่าง ๆ
ประโยชน์ของสถิติชีพ
1. ทำให้ทราบถึงภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน ทราบความแตกต่างของภาวะ
สุขอนามัยระหว่างกลุ่มบุคคล สถานที่ ช่วงเวลา เมื่อมีการนำมาเปรียบเทียบกัน
2. เป็นเครื่องชี้วัดปัญหาสาธารณสุข และความรุนแรงของปัญหานั้น ๆ ทำให้
สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุขเพื่อหามาตรการ แนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป

สถิติอนามัย (health statistics)

สถิติอนามัย หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ประชาชนเจ็บป่วย ตาย โดยจะประกอบด้วยข้อมูลสถิติด้านการเจ็บป่วย สาเหตุของการตาย
ประโยชน์ของสถิติอนามัย
1. ข้อมูลข่าวสารที่ได้จากสถิติอนามัยใช้เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขแก่
ประชาชน ปัญหาความรุนแรงของการเจ็บป่วย เพื่อให้ประชาชนเกิดความระมัดระวัง และมีการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยได้อย่างถูกต้อง
2. เป็นเครื่องมือชี้วัดความรุนแรงของปัญหาทั้งการเจ็บป่วยและการตาย ทำให้
สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้ เมื่อนำความรุนแรงของปัญหามาเปรียบเทียบกัน
3. เป็นแนวทางในการหาวิธีป้องกันการเกิดปัญหาเหล่านั้น ตลอดจนการหาวิธีเพื่อ
ลดความรุนแรงของปัญหา วิธีป้องกันการเจ็บป่วยหรือจำกัดความรุนแรงของการเจ็บป่วยไว้ไม่ให้ถึงแก่ชีวิต

ดรรชนีอนามัย (health indices)

ดรรชนีอนามัย เป็นการวัดด้านปริมาณเพื่อแสดงถึงสุขภาพของประชาชนในชุมชน ในด้านต่าง ๆ กันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัย โดยมีการอธิบายในรูปแบบอัตรา อัตราส่วน และสัดส่วน
ดรรชนีอนามัย เป็นเครื่องมือบ่งชี้ความถี่ของการเกิดโรค การเจ็บป่วย การตาย และภาวะสุขภาพอนามัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมมาเพื่อจัดทำสถิติชีพ สถิติอนามัย หรือดรรชนีอนามัย นั้น มักเป็นการนำข้อมูลมาสรุปและนำเสนอในรูปของค่าอัตรา (rate) อัตราส่วน (ratio) หรือสัดส่วน (proportion) ดังนั้น จึงควรเข้าใจลักษณะการคิดคำนวณ และการนำไปใช้งานเสียก่อน


ประโยชน์ของดรรชนีอนามัย
1. ใช้วัดการกระจายและแนวโน้มการเกิดโรคในชุมชน
2. ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ด้านอนามัย ปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน ความเจ็บป่วย
การตายโดยสามารถนำดรรชนีอนามัยไปเปรียบเทียบกันภายในประเทศ ระหว่างประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์ด้านอนามัยได้
3. เป็นแนวทางในการวางแผนงานสาธารณสุข การกำหนดเป้าหมาย และ
การประเมินผลแผนงาน
4. ใช้ประเมินการจัดบริการสาธารณสุขและวัดผลการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ
5. เป็นประโยชน์ในงานวิจัย และการศึกษาทางด้านระบาดวิทยา

ระเบียบวิธีการทางสถิติ

ระเบียบวิธีการทางสถิติ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (data collection) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล
ตามที่ได้มีการวางแผนไว้ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ
2. การนำเสนอข้อมูล (data presentation) เป็นการจัดทำข้อมูลที่รวบรวมได้ให้อยู่ใน
รูปแบบที่กะทัดรัด เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ ข้อความ เพื่อความสะดวกในการอ่านข้อมูล ให้เข้าใจง่ายและเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ต่อไป
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) เป็นขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล ซึ่งใน
การวิเคราะห์จำเป็นต้องใช้สูตรทางสถิติต่าง ๆ หรือใช้การอ้างอิงทางสถิติ ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของงานนั้น ๆ เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การทดสอบสมมติฐาน การประมาณค่า เป็นต้น
4. การแปลความหมาย (interpretation) เป็นขั้นตอนของการนำผลการวิเคราะห์มา
อธิบายให้บุคคลทั่วไปเข้าใจ อาจจำเป็นต้องมีการขยายความในการอธิบาย เพื่อให้งานที่ศึกษาเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปได้
จากกระบวนการทางสถิติดังกล่าว เราสามารถจำแนกเป็นสถิติศาสตร์ ที่สอดคล้องกับขั้นตอนต่าง ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือ สถิติบรรยาย (หรือสถิติเชิงพรรณนา) และสถิติอ้างอิง (หรือสถิติเชิงอนุมาน) 1. สถิติบรรยาย หรือสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลในรูปของการบรรยายลักษณะทั่ว ๆ ไปของข้อมูล โดยจัดนำเสนอ เป็นบทความ บทความกึ่งตาราง แสดงด้วยกราฟหรือแผนภูมิ ตลอดจนทำเป็นรูปภาพต่าง ๆ มีการคำนวณหาความหมายของข้อมูลโดยวิธีทางสถิติอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เป็นรูปแบบของข้อมูลในเบื้องต้นให้สามารถตีความหมายของข้อมูลได้ตามความจริง
สถิติบรรยายนี้อาจทำการศึกษากับข้อมูลที่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือกลุ่มใหญ่โดยทั่ว ๆ ไปก็ได้ และผลการวิเคราะห์จะใช้อธิบายเฉพาะกลุ่มที่นำมาศึกษาเท่านั้น
สถิติบรรยายที่ใช้ในงานวิจัย เช่น การแจกแจงความถี่ ร้อยละ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย เป็นต้น
2. สถิติอ้างอิง หรือสถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) เป็นเทคนิคที่นำข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งไปอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนใหญ่โดยทั่ว ๆไป โดยใช้พื้นฐานความน่าจะเป็น เป็นหลักในการอนุมาน หรือทำนายไปยังกลุ่มประชากรเป้าหมาย การใช้สถิติอ้างอิงทำได้ 2 ลักษณะ คือ การประมาณค่าประชากร และการทดสอบสมมติฐาน
เพื่อให้มองเห็นข้อแตกต่างระหว่างสถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิง และมองเห็นลักษณะของสถิติอ้างอิงได้อย่างเด่นชัดขึ้น จะขออธิบายความหมายของคำที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้
1. ประชากร (population) หมายถึง ขอบเขตของข้อมูลทั้งหมดที่เรากำลัง
ทำการศึกษาหรืออาจหมายถึง กลุ่มของสิ่งของทั้งหมดที่ให้ข้อมูลตามที่เราต้องการศึกษา
ลักษณะของประชากรที่ศึกษา อาจมีจำนวนจำกัด (finite population) หรืออาจ
มีจำนวนอนันต์ (infinite population) เช่น การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาชนิดหนึ่ง ประชากรจะเป็นผลการทดสอบประสิทธิภาพของยาในผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ ซึ่งไม่สามารถบอกถึงจำนวนทั้งหมดได้
ค่าที่ประมวลได้จากข้อมูลทั้งหมดของประชากร โดยวิธีการทางสถิติจะเรียกว่า พารามิเตอร์ (parameter) และนิยมใช้สัญลักษณ์อักษรกริกแทน เช่น
- ค่าเฉลี่ยของประชากร แทนด้วย อ่านว่า มิว (mu)
- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร แทนด้วย อ่านว่า ซิกม่า (sigma)
- ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของประชากร แทนด้วย อ่านว่า โร (rho)
2. ตัวอย่าง (sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรซึ่งถูกเลือกมาศึกษา
เนื่องจากในบางครั้งพบว่า การศึกษาบางอย่างไม่อาจทำทั้งหมดของประชากรได้ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก เสียเวลา อาจหาประชากรทั้งหมดไม่ได้ หรือไม่สามารถกระทำกับประชากรทั้งหมดได้ จึงจำเป็นต้องเลือกตัวอย่างมาศึกษา
ค่าที่ประมวลได้จากข้อมูลของตัวอย่าง โดยวิธีการทางสถิติ จะเรียกว่า ค่าสถิติ (statistic) เช่น
- ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง แทนด้วย
- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่าง แทนด้วย
- ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวอย่าง แทนด้วย

สถิติบรรยาย (descriptive statistics)

การแจกแจงความถี่
เป็นการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมได้ให้อยู่ในรูปแบบที่กะทัดรัด เพื่อความสะดวกในการอ่านข้อมูล เข้าใจง่าย และเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป โดยทั่วไปการสร้างตารางแจกแจงความถี่ข้อมูล จะแบ่งเป็นตารางแจกแจงความถี่ข้อมูลเชิงคุณภาพ และตารางแจกแจงความถี่ข้อมูลเชิงปริมาณ
ตารางแจกแจงความถี่เชิงปริมาณ มีการคำนวณค่าที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้แก่
- พิสัย (range) เป็นความแตกต่างระหว่างค่าสังเกตสูงสุดและค่าสังเกตต่ำสุด
- อันตรภาคชั้น (class interval) เป็นความกว้างของชั้นคะแนนของค่าสังเกต
(ความแตกต่างขอบเขตบนและขอบเขตล่าง ของแต่ละอันตรภาคชั้น ความแตกต่างนี้ใช้แทนขนาดของอันตรภาคชั้น)
- ขีดจำกัดชั้น (class limit) เป็นตัวเลขเริ่มต้นและลงท้ายของแต่ละชั้น เลขที่มีค่าน้อย
กว่า เรียกว่า ขีดจำกัดล่าง (low limit) และเลขที่มีค่ามากกว่า เรียกว่า ขีดจำกัดบน (upper limit)
- ขอบเขตชั้น (class boundary) เป็นค่าที่แบ่งแยกอาณาเขตของแต่ละอันตรภาคชั้น
หาได้โดยเฉลี่ยขีดจำกัดบน และขีดจำกัดล่าง ของชั้นที่ติดกัน เรียกเลขที่มีค่าน้อยกว่าว่า ขอบเขตล่าง หรือขีดจำกัดล่างจริง (true lower limit) และเลขที่มีค่ามากกว่า ขอบเขตบน หรือขีดจำกัดบนจริง (true upper limit)
- จุดกึ่งกลาง (mid point) เป็นค่าเฉลี่ยของขอบเขตบน และขอบเขตล่าง ใช้เป็น
ตัวแทนของค่าสังเกตต่าง ๆ ในแต่ละอันตรภาคชั้น
- การแสดงจำนวนชุดข้อมูล หรือความถี่ของข้อมูลนั้น สามารถแสดงความถี่ในรูป
ของความถี่สะสม ความถี่สัมพัทธ์ และความถี่สะสมสัมพัทธ์
- ความถี่สะสม เป็นการรวมความถี่จากอันตรภาคชั้นที่มีค่าสังเกตน้อยไปยังชั้นที่มีค่า
สังเกตมาก หรือเป็นการรวบรวมในทางตรงข้ามก็ได้
- ความถี่สัมพัทธ์ เป็นสัดส่วนของความถี่ของอันตรภาคชั้น กับจำนวนค่าสังเกต
ทั้งหมด โดยทั่วไปนิยมนำเสนอในรูปร้อยละ
- ความถี่สะสมสัมพัทธ์ เป็นการสะสมความถี่สัมพัทธ์ โดยมีลักษณะเช่นเดียวกันกับ
ความถี่สะสม
แผนภูมิกราฟ

เป็นการแบ่งการนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพในรูปแผนภูมิกราฟ โดยทั่วไปนิยมใช้ กราฟวงกลม กราฟแท่ง ส่วนการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ นิยมนำเสนอเป็นฮิสโตแกรม รูปหลายเหลี่ยมความถี่สัมพัทธ์

การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

ในการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เห็นลักษณะของข้อมูลจากค่าตัวแทนของข้อมูลค่าใดค่าหนึ่ง ค่าตัวแทนของข้อมูลหรือการวัดแนวโน้มเข้าสู่กลาง ที่นิยมใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic mean, ) ค่ามัธยฐาน (median) และค่าฐานนิยม (mode)
คุณสมบัติของค่าเฉลี่ย
1. เป็นตัวแทนข้อมูล ที่ใช้ข้อมูลทุกค่ามาทำการคำนวณหาขนาดของค่าเฉลี่ย
2. เนื่องจากมีการนำข้อมูลทุกค่ามาคำนวณ ตามหลักคณิตศาสตร์ จึงสามารถใช้ใน
การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงได้
3. เนื่องจากมีการใช้ข้อมูลทุกค่ามาคำนวณ ดังนั้น หากมีข้อมูลบางตัวมีขนาดใหญ่
มาก ๆ หรือเล็กมาก ๆ ผิดปกติ จะมีผลต่อการคำนวณขนาดของค่าเฉลี่ยด้วย
4. ข้อมูลที่มีมาตรวัดเป็นนามบัญญัติ (norminal scale) และเรียงอันดัง (ordinal
scale) ไม่สามารถใช้คำนวณค่าเฉลี่ยได้
ค่ามัธยฐาน (median) เป็นค่าที่อยู่ตำแหน่งตรงกลางของข้อมูล เมื่อเรียงลำดับตามปริมาณข้อมูลทั้งหมด จากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย
คุณสมบัติของค่ามัธยฐาน
1. มัธยฐาน เป็นการใช้ค่าของข้อมูลที่อยู่ตำแหน่งตรงกลาง มาเป็นตัวแทน ดังนั้น
ข้อมูลที่มีค่ามาก หรือน้อยผิดปกติ จะไม่มีผลกระทบต่อค่ามัธยฐาน และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางตัวในกลุ่มจะมีผลกระทบต่อค่ามัธยฐานน้อยมาก
2. มัธยฐานจะเป็นค่าตัวแทนของข้อมูลได้ใกล้เคียงกับประชากรส่วนใหญ่มากกว่า
ค่าเฉลี่ย หากการแจกแจงข้อมูลเป้ไปทางใดทางหนึ่ง
3. ข้อมูลที่มีมาตรวัดเป็นนามบัญญัติ (norminal scale) ไม่สามารถคำนวณ
ค่ามัธยฐานได้
4. กรณีที่มีข้อมูลกระจุกอยู่ค่าต่ำสุด หรือสูงสุดมากเกินไป จะไม่สามารถหา
ค่ามัธยฐานได้
ฐานนิยม (mode) เป็นค่าที่มีความถี่สูงสุดในข้อมูลชุดหนึ่ง ฐานนิยมอาจมีค่าเดียวในชุดข้อมูลนั้น หรืออาจมีหลายค่าได้ กรณีที่มีข้อมูลที่ความถี่สูงสุดเท่ากันหลายค่า
คุณสมบัติของฐานนิยม
1. สามารถคำนวณได้ง่าย รวดเร็ว
2. ใช้กับข้อมูลที่มีมาตรวัดนามบัญญัติ (norminal scale)
3. ข้อมูลที่มีค่ามาก หรือน้อยผิดปกติ จะไม่มีผลกระทบต่อค่าฐานนิยม และถ้ามี
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางตัวในกลุ่มจะไม่มีผลกระทบต่อค่าฐานนิยม หรือมีน้อยมาก
ในการเลือกใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ตัวใด (ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม) จะขึ้นกับลักษณะการกระจายของข้อมูล จุดประสงค์ของการนำไปใช้ และมาตรวัดของข้อมูลนั้น ๆ

การวัดการกระจายข้อมูล

การกระจายของข้อมูลเป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งที่ใช้วัดความแตกต่างของค่าของข้อมูลทั้งหมด ข้อมูลที่มีการกระจายแสดงถึงข้อมูลมีการเกาะกลุ่มอยู่ที่ค่าใกล้เคียงกัน ส่วนข้อมูลที่มีการกระจายมากแสดงว่าข้อมูลเกาะกลุ่มไม่ดี มีค่าความแตกต่างกันมาก
วิธีการวัดการกระจายมีทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ พิสัย ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไตล์ ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
1. พิสัย (range) เป็นความแตกต่างระหว่างค่าสังเกตสูงสุดและค่าสังเกตต่ำสุด
พิสัย = ค่าสูงสุด - ค่าต่ำสุด
2. ส่วนเบี่ยงเบนควอร์ไตล์ (quartile deviation : QD) หมายถึง ครึ่งหนึ่งของผลต่าง
ระหว่างข้อมูลที่ Q3 กับ Q1
3. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (mean deviation : MD) เป็นค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่าง
ข้อมูลทุกตัวกับค่าเฉลี่ย
4. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation : SD) เป็นรากที่ 2 ของค่าเฉลี่ยของ
กำลังสองของผลต่างระหว่างข้อมูลทุกตัวกับค่าเฉลี่ย





สถิติอ้างอิง (Inferential statistics)

สถิติอ้างอิง คือ การนำความรู้หรือข้อเท็จจริงที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งสุ่มมาจากประชากรที่ต้องการศึกษา ไปช่วยในการตัดสินใจหรือสรุปเกี่ยวกับคุณลักษณะของประชากร เรียกว่า การอนุมาน (inferential) เนื่องจากการที่จะศึกษาคุณลักษณะของประชากรโดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงจากทั้งประชากร เป็นไปได้ยากหรือไม่สามารถทำได้เลย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการอนุมานเชิงสถิติ จะต้องเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ดี ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร กระบวนการที่จะได้มาซึ่งตัวอย่างที่ดีนั้น เรียกว่า การสุ่มตัวอย่าง (sampling) ค่าที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง เรียกว่า ค่าสถิติ ส่วนค่าที่ได้จากประชากร เรียกว่า พารามิเตอร์ ในการนำเอาค่าที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง (ค่าสถิติ) ไปสรุปผลเกี่ยวกับคุณลักษณะของประชากร (พารามิเตอร์) มี 2 วิธี คือ การประมาณค่า และการทดสอบสมมติฐาน
การประมาณค่า หมายถึง วิธีการใช้ค่าสถิติที่ได้จากตัวอย่างไปประมาณค่าพารามิเตอร์ เป็นการหาข้อสรุปที่เกี่ยวกับพารามิเตอร์ ในลักษณะของการประมาณ ซึ่งมักแสดงในรูปตัวเลข เช่น ประมาณค่าเฉลี่ยของประชากร ประมาณค่าสัดส่วนของประชากร เป็นต้น
การทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐาน (hypothesis) คือ คำตอบที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้า และคำตอบนี้ได้มาจากหลักการทางเหตุผล ซึ่งมาจากความรู้เดิม ประสบการณ์ เอกสาร ตำรา หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
สมมติฐานการวิจัย คือ ความเชื่อของผู้วิจัยว่า เรื่องที่สนใจศึกษาจะมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ความเชื่อนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ได้
การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (alternative hypothesis) แบ่งเป็น 2 วิธี คือ
1. สมมติฐานเพื่อการทดสอบ (null hypothesis) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ H0 เป็น
สมมติฐานที่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่แน่นอน ต้องการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่
2. สมมติฐานแย้ง (alternative hypothesis) เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ H1 เป็น
สมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาควบคู่กับ H0 เพื่อเป็นทางเลือกหรือข้อแย้งกับ H0 ในกรณีที่ต้องปฏิเสธ H0
ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน
1. กำหนดสมมติฐานเพื่อการทอสบ (H0) และสมมติฐานแย้ง (H1)
2. พิจารณาเลือกตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบ ที่เหมาะสมกับพารามิเตอร์ที่ต้องการ
ทดสอบ
3. กำหนดระดับนัยสำคัญ ( ) และหาอาณาเขตวิกฤตของตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบ
ภายใต้สมติฐานที่กำหนด
4. คำนวณค่าสถิติทดสอบจากข้อมูล
5. เปรียบเทียบค่าสถิติทดสอบที่คำนวณได้กับค่าวิกฤต (ที่ได้จากการเปิดตาราง
ค่าวิกฤตตามชนิดของสถิติต่าง ๆ) ถ้าค่าสถิติทดสอบตกอยู่ในอาณาเขตวิกฤต จะสรุปว่าปฏิเสธ H0

การใช้โปรแกรม Spss for Windows














Spss Version 10 นี้สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ View หรือ มุมมอง โดยแบ่งเป็น 2 มุมมองด้วยกัน คือ ดังภาพ
1. Variable view เป็นส่วนกำหนดคุณสมบัติของตัวแปร Variable โดยการสร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร ดังภาพ


Name = กำหนดชื่อตัวแปร
Type = กำหนดชนิดของตัวแปร
Width = กำหนดจำนวนของค่าตัวแปรหรือจำนวนความกว้างของค่าตัวแปร
Decimals= กำหนดจำนวนของจุดทศนิยม
Label= กำหนดชื่อของตัวแปรจะมีผลเมื่อเราออกแบบรายงานเป็นกราฟ
Value= กำหนดค่าตัวแปรโดยมิต้องไปกำหนดที่ Variable view
Missing = กำหนดเมื่อไม่พบค่าตัวแปรของชุดตัวแปรนั้น
Columns = กำหนดความกว้างของช่อง Columns สำหรับกรอกข้อมูล
Aligh = จัดค่าของชุดตัวแปรให้ชิดซ้าย กลาง หรือ ขวา
Measure = กำหนดมาตราวัดของตัวแปร
2. Data view เป็นส่วนกำหนดค่าชุดของตัวแปรในแต่ละชุดหรือ Data entry ดังภาพ






แบบสอบถาม
ตัวอย่าง แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
ข้อตกลง การจัดแบ่งค่าระดับความพึงพอใจดังนี้
5 = พึงพอใจมากที่สุด4 = พึงพอใจมาก3 = พึงพอใจปานกลาง2 = พึงพอใจน้อย1 = ไม่พึงพอใจ

1. เพศ [ ] ชาย [ ] หญิง
2. สาขาวิชา [ ] เทคโนโลยีและการสื่อสาร [ ] อุตสาหกรรม [ ] จิตวิทยา
[ ] ภาษาไทย [ ] ภาษาอังกฤษ [ ] บริหารการศึกษา



3. ระดับความคิดเห็น ให้ทำเครื่องหมายถูกลงบนค่าระดับความพึงพอใจที่สอดคล้องกับท่านมากที่สุด โดยใช้ข้อมูลตามข้อตกลงข้างต้น
ข้อคำถาม
5
4
3
2
1
1.การจัดเก็บเงินเพื่อการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง





2. การเลี้ยงพบปะสังสรรค์ตามวาระ





3. การแบ่งจำนวนนิสิตในชั้นเรียน





4. การจัดการศึกษาดูงานนอกสถานที่





5. การส่งเสริมให้ทำ IS ตามแนวโน้มของเทคโนโลยี






เริ่มใช้โปรแกรม โดยท่านสามารถเปิดใช้โปรแกรมโดยไปที่ Start => Programs => Spss for Windows ดังภาพ








เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้วจะพบกรอบ Spss for Windows ดังภาพ







การกำหนดตัวแปร
การกำหนดตัวแปรและคุณลักษณะของตัวแปร ตัวแปร คือ ข้อคำถามต่างๆ ในแบบสอบถาม
1. การกำหนดชื่อ (Name) กำหนด ดังนี้
ข้อ 1 เพศ = Sex ข้อ 2 สาขาวิชา = Major ข้อ 3 ระดับความคิดเห็น
ข้อ 3.1 = Topic1 ข้อ 3.2 = Topic2 ข้อ 3.3 = Topic3 ข้อ 3.4 = Topic4 ข้อ 3.5 = Topic5
2. กำหนดค่าตัวแปร (Value) ดังต่อไปนี้
- Sex มีได้ 2 ค่าคือ ชาย, หญิง
- Major มี 6 ค่าคือ เทคโนโลยีและการสื่อสาร, อุตสาหกรรม , จิตวิทยา ,ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ , บริหารการศึกษา
- Topic 1,Topic 2,Topic 3,Topic 4,Topic 5 มีค่าตัวแปรที่เหมือนกัน 5 ค่า คือ
พึงพอใจมากที่สุด , พึงพอใจมาก , พึงพอใจปานกลาง , พึงพอใจน้อย และไม่พึงพอใจ

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies ดังภาพ



2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies ดังภาพ กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็น
ตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล



3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร ดังภาพ



4.คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ




5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum ดังภาพ แล้วเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue
จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ





6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ดังภาพ




ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล










ผลการวิเคราะห์







โปรแกรม Spss จะเปิดส่วน Output Analyze มาอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนแยกต่างหากจากส่วนโปรแกรม Spass หลัก เมื่อได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ทำการ Save ข้อมูลโดยคลิกปุ่ม Save ดังภาพ





ในช่อง Save in กำหนดสถานที่จัดเก็บ และในช่อง File name ให้กำหนดชื่อ file ข้อมูล
นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ไปแปลงผลเป็นข้อมูลเชิงบรรยาย เพื่อประกอบการวิจัยหรือตามวัตถุประสงค์การวิเคราะห์นั้นๆ ของท่าน จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้
ด้านสถิติเบื้องต้นมาก่อน จึงจะสามารถแปลงผลการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและเข้าใจ

137 ความคิดเห็น:

  1. หวัดดีครับ(เอ่อหวัดไม่ดีหรอกครับเดี๋ยวจะไม่สบาย)
    ดีครับดีเปิดบล็อกแชร์ประสบการณ์
    เดี๋ยวเรียนไม่เขาใจจะได้มาถาม
    แล้วจะมาเม้นบ่อยๆนะครับ
    สวัสดี

    นายณรงค์ ชาวพงษ์ ม.5/1 เลขที่2

    ตอบลบ
  2. หวัดดีค่ะ!ที่เปิดใช้บล็อกแบบนี้ไม่มีเพื่อนคุยป่าวค่ะ?
    แต่ก็ดีค่ะจะได้ไว้มาเมนต์ถามการบ้าน+555
    นางสาว สรัญยา โพธิ์คำ ชั้นม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณน๊าค๊าที่นำข้อมูลDDมาให้เรียนรู้กัน!
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ชั้นม. 5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  4. หวัดดีครั้งนี้เป็นครั้งที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ค่ะรู้แต่ว่าง่วงนอนแล้ว!
    เดี๋วยวันหลังมาเมนต์หมั่ยนะค่ะแล้วจะมาถามการบ้าด้วยค่ะ!
    และถ้าเรียนไม่รู้เรื่องก็จะมาเมนต์อีกค่ะ!
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ชั้นม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  5. นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    สัวสดีค่ะ เนื้อหา ใช้ได้เลย เดียว แวะมาอ่าน บ่อยๆๆ นะค่ะ

    ตอบลบ
  6. นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    หวัดดีนะค่ะ มาเม้นให้แล้วน่ะ ค่ะแนนๆๆ เกรด 4 ไปเลยนะค่ะ
    ครูสอนตลกมาก คณิตอ่ะค่ะ แต่นู๋ไม่รู้เรื่องหลอก นะค่ะ 55
    ไปแล้ว เม้น อีกๆๆๆ MISSSSSS

    ตอบลบ
  7. ข้อมูลของ ครูก็ดีมากเลยนะค่ะ แต่จัดข้อมูลไม่ค่อยสวยเลยๆอะ บางอันห่างกันบางอันใกล้กัน (ตัวหนังสืออะ)
    แล้วบล๊อกน่าจะมีรูปหน่อยนะค่ะ บายวันนี้มาติ ล้วนๆๆ

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  8. โจทย์คณิตคิดให้ดีมีตามสูตร ฟังเขาพูดไม่เข้าใจให้ไต่ถาม
    หมั่นฝึกฝนหมั่นศึกษาพยายาม หมั่นทำตามโจทย์ตั้งอย่านั่งมอง
    พหุนามกำลังสองต้องตามสเต็ป ในวงเล็บหน้าลบหลังกำลังสอง
    เท่ากับหน้ากำลังสองช่างน่ามอง ลบหน้าสองหลังบวกหลังกำลังสอง

    วันนี้มีกลอนคณิตศาสตร์มาฝากด้วยค่ะ

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  9. บทพีทาโกรัสวิชาคณิต ตั้งใจคิดให้ดีที่ปัญหา

    คิดแทนค่าตามสูตรที่พูดมา ได้ความว่าอย่างไรให้ประจักษ์

    เอกำลังสองบวกบีกำลังสอง สิ่งที่ต้องจดจำอย่าทึกทัก

    เท่ากับซีกำลังสองนะน้องรัก ให้รับรู้ความที่ครูได้สอนมา

    เอและบีเป็นด้านประกอบมุมฉาก คำนวณมากคิดได้ค่อยฝึกหา

    ซีเป็นด้านตรงข้ามมุมฉากรวมกันมา โปรดจำว่าจงฟังคำครูเอย


    กลอนที่ 2ค่ะ น่าอ่านทั้ง 2 อันเลย เดี๋ยวมาเม้นให้ใหม่น่า

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  10. ครูค่ะ นู๋คิดว่าน่าจะมีโปรแกรมให้ ดาวโหลด ด้วยนะค่ะ
    น่าจะดีนะค่ะ ว่าได้ลองโหลด ไปใช้งานเล่นที่บ้าน อะ (ทำไม่เป็นหลอก55+)
    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  11. แบบสอบถาม ของคุณครูนะค่ะ
    3.พึงพอใจมาก

    แก้ใขแบบสอบถามด้วยนะค่ะ คิดว่าครูทำผิดนะ ตัวเลขน่าจะอยู๋ก่อนๆ ไม่ใช้หลอ

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  12. ระดับความเห็นคิดเห็น คิดว่าครูทำผิดอีกแล้วนะค่ะ แก้ใขด้วนๆๆ เลยค่ะ
    เม้นให้เยอะแล้ว ๆๆๆๆๆๆ เมื่อยๆๆๆ ค่ะ หุหุหุ งุงิ *0*!!!!

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  13. ตรรกศาสตร์อาจถูกหรืออาจเท็จ Tแล้วFเป็นเท็จก็ไม่ใช่
    หรือจะบ่งปริมาณหารคูณไซร้ แต่ว่าใจแน่นิ่งจริงและจริง
    สมการหารลบพบคำตอบ แต่อยากมอบหนึ่งใจไว้ตัวแปร
    หากโจทย์นั้นฉันไซร้ไม่อาจแก้ เหลือเพียงแต่หนึ่งใจไว้ให้เธอ

    นี้เป็นกลอนความรัก หรือคณิตศาสตร์เนี่ยๆ

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  14. จำนวนจริงสิ่งใดในโลกนี้ วันเดือนปีที่ผ่านการคิดค้น
    จำนวนนับกับรักซักกี่คน ใจที่ปนจนทุกข์สุขไม่มี
    ปริมาตรคาดเคลื่อนเตือนสติ สามมิติตรีโกณซายคอสแทน
    มุมเซต้าอัลฟ่าค่ามาแสน จะเป็นแกนXYคล้ายกับเธอ

    มีแต่กลอนมากฝากนะค่ะช่วงนี้อะ

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  15. มีพื้นที่กี่ตารางต่างกันไป แต่ทำไมใจฉันนั้นมีหนึ่ง
    พื่นที่ใดใจฉันมันคิดถึง เฝ้ารำพึงถึงเธอเสมอมา
    จะเก็บใจเธอใส่ในเซตว่าง อยู่ตรงกลางระหว่างเทอกับฉัน
    แล้วยูเนียนเขียนใจกันและกัน สมาชิกความสัมพันธ์ของฉันเทอ


    มีแต่กลอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ๆๆ เลยนะค่ะ

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  16. จะเก็บใจเทอใส่ในซับเซต อินเตอร์เซกความรักสลักจิต

    คอมพรีเม้นถีบกระเด็นพวกเห็นผิด แล้วก็ปิดปีกกาของฉันเทอ

    เส้นขนานนานเข้าเราก็ห่าง เป็นที่ว่างกลางใจไว้คิดถึง

    ได้แค่มองสองตาว่าอยากซึ้ง ให้คนหนึ่งปิดเซตว่างข้างหัวใจ



    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  17. วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะค่ะ วันหลังค่อยมาเม้นให้ใหม่นะค่ะ ขอบคุณนะค่ะ

    บ๊ายบายค่ะ

    นางสาว ลัดดาวัลย์ ศรีสุข ชั้นม.5/1 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  18. หวัดดีค่ะ!เนื้อหาของครูก็น่าสนใจดีค่ะแต่ว่าครูน่าจะมีแบบทดสอบให้ลองทำด้วยนะค่ะ..

    ตอบลบ
  19. หนูคิดว่าเรื่องสถิติ เป็นอีกเรื่องที่ยากมากๆเลยแต่พอได้อ่านแล้วก็เข้าใจมากขึ้นนิดหนึงค่ะ

    ตอบลบ
  20. ครูเมนต์เมื่อกี้ลืมบอกชื่อค่ะ นางสาวสรัญยา โพธิคำ ชั้นม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  21. หวัดดีอีกครั้งค่ะ! สำหรับหนูแล้ววิชาคณิตศาสตร์ก็เป็นวิชาที่หนูชอบมากที่สุ๊ดเลย แต่เรื่อสถิติหนูไม่ค่อยชอบเลยเพราะมีแต่ตัวหนังสือ
    นางสาว สรัญยา โพธิ์คำ ชั้นม. 5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  22. หนูเอาสูตรคณิตมาฝากค่ะ
    โจทย์คณิตคิดให้ดีมีตามสูตร ฟังเขาพูดไม่เข้าใจให้ไต่ถาม
    หมั่นฝึกฝนหมั่นศึกษาพยายาม หมั่นทำตามโจทย์ตั้งอย่านั่งมอง
    พหุนามกำลังสองต้องตามสเต็ป ในวงเล็บหน้าลบหลังกำลังสอง
    เท่ากับหน้ากำลังสองช่างน่ามอง ลบหน้าสองหลังบวกหลังกำลังสอง
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ชั้นม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  23. เอากลอนดีๆมาฝากครูและเพื่อนๆที่มาเม้นให้ครูค่ะ
    บทพีทาโกรัสวิชาคณิต ตั้งใจคิดให้ดีที่ปัญหา
    คิดแทนค่าตามสูตรที่พูดมา ได้ความว่าอย่างไรให้ประจักษ์
    เอากำลังสองบวกบีกำลังสอง สิ่งที่ต้องจดจำอย่าทึกทัก
    เท่ากับซีกำลังสองนะน้องรัก ให้รับรู้ความที่ครูได้สอนมา
    เอและบีเป็นด้านประกอบมุมฉาก คำนวณมากคิดได้ค่อยฝึกหา
    ซีเป็นด้านตรงข้ามมุมฉากรวมกันมา โปรดจำว่าจงฟังคำครูเอย
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ชั้นม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  24. กลอนDDอีกแล้วค่ะ
    X + Y = 7 สมการหนึ่ง
    เอ็กซ์ลบครึ่งหนึ่งของวายเท่ากับสี่
    สองตัวแปรสองสมการแก้ได้สิ
    คิดอย่างดีเอ็กซ์มีค่าเป็น 5 ไง
    คำนวณคิดวิเคราะห์นั้นต้องย้ายข้าง
    พินิจบ้างหาค่าวายได้ไฉน
    เมื่อย้ายข้างแก้สมการคำนวณไป
    สมการได้ค่าวายนั้นคือ 2
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ชั้นม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  25. กลอนDDมาอีกแล้วค่ะหนูคิดว่าครูควรใช้กลอนนี้ไปสอนนักเรียนเพื่อง่ายต่อการจำนะค่ะ
    หนึ่งส่วนสองคูณฐานคูณความสูง
    เพียรมั่นมุ่งหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
    จึงเรียงร้อยถ้อยคำตามธรรมเนียม
    รูปสี่เหลี่ยมกว้างคูณยาวก็น่าดู
    อีกทั้งนี้มีสี่เหลี่ยมรูปคางหมู
    เป็นที่รู้หนึ่งส่วนสองต้องคูณสูง
    คูณผลบวกด้านคู่ขนานดูซิดู
    คำตอบรู้หาได้จากการคิดลอง
    หาพื้นที่รูปวงกลมหาไม่ยาก
    หาได้จากพายอาร์กำลังสอง
    ด้านคูณด้านคือพื้นที่ทีน่าลอง
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ชั้นม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  26. สวัสดีค๊ะดีเหมือนกันนะค่ะที่มาเปิดบล็อกไว้แบบนี้เวลาเรียนกับครูไม่เข้าใจจะได้เมนต์ถามได้ตลอดเวลา
    นางสาว สุภัสสร เปรี้ยวภา ชั้น ม.5/1 เลขที่37

    ตอบลบ
  27. ขอขอบคุณคุณครูกรสอนคณิต สอนจนศิษย์คิดวกวนทนปวดหัว
    ทำให้หนูหูอื้อและตามัว ก็เพราะกลัวเกรดจะกร่อนเพราะกลอนกร่อย

    นางสาว สุภัสสร เปรี้ยวพา ชั้ ม.5/1 เลขที่ 37

    ตอบลบ
  28. ดีจร้าคุณครู

    ก้อดีเหมือนกานนะคร่ะที่คุณครูเปิดบล็อก

    เเต่ถ้าจาหั้ยดีต้องเล่น ฮิ ห้ า ไม่งั้นก้อ เล่น เ อ ม สิคร่ะ

    ตอบลบ
  29. ดีจร้าคุณครู

    ก้อดีเหมือนกานนะคร่ะที่คุณครูเปิดบล็อก

    เเต่ถ้าจาหั้ยดีต้องเล่น ฮิ ห้ า ไม่งั้นก้อ เล่น เ อ ม สิคร่ะ

    นางสาว ประภัสสร ผดุงเวียง ชั้น ม. 5/1 เลขที่ 25

    ตอบลบ
  30. ขอบคุณคะ ที่นำสาระการเรียนมาให้พวกเราได้อ่านกัน

    นางสาว สุภัสสร เปรี้ยวพา ชั้ ม.5/1 เลขที่ 37

    ตอบลบ
  31. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  32. หนูไม่มีไรแล้วคะ แต่หนูมีคำคมมาให้ครูอ่านเล่นๆค่ะ

    " รากของการศึกษานั้นขม
    แต่ผลของมันนั้นหวาน"

    นางสาว สุภัสสร เปรี้ยวพา ชั้น ม.5/1 เลขที่ 37

    ตอบลบ
  33. สวัดDค่ะ
    ขอบคุณนะค่ะสำหรับเรื่องสถิติที่นำมาให้เราได้ศึกษากัน
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ชั้ม. 5/1 เลขที่ 16

    ตอบลบ
  34. ครูหนูว่าครูน่าจะมีข้อมูลเพื่อไวว้ให้ดาวโหลดด้วยนะค่ะ
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 16

    ตอบลบ
  35. หนูเห็นเพื่นเขาเอากลอนมาฝากก็เลยเรียนแบบค่ะ
    เศษส่วนของเลขคณิต สิ่งต้องคิดคือผลลัพท์
    ถูกผิดไม่บังคับ เพราะผลลัพท์คือความจริง
    สามส่วนสี่คือตัวตั้ง ต้องระวังอย่าประวิง
    บวกห้าส่วนสี่อย่าลบทิ้ง บอกความจริงได้แปดส่วนสี่
    ทำอย่างไรให้ส่วนเท่า ขอบอกเล่าเท่าที่มี
    ค.ร.น. คิดให้ดี ทำส่วนนี้ให้เท่ากัน
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่16

    ตอบลบ
  36. ครูค่ะ!หนูมีอะไรจะถามค่ะ
    สมการ ตัวอักษร ซ่อนหลายชั้น
    "งอ8วัน" "อม10วัน" เงื่อนปัญหา
    "20วัน" คือคำ"คม" กำหนดมา
    จงค้นหา คำ"งอม"ว่า ค่าเท่าใด
    นางสาว ธนพร อุดรเขตร์ ชั้นม.5/1 เลขที่ 16

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  37. สามตัวเรียง เป็นลำดับ เลขคณิต
    ผลรวมคิด ได้เบ็ดเสร็จ เจ็ดสิบห้า
    ตัวน้อยสุด คืออะไร ให้บอกมา
    ตัวมากสุด สามสิบห้า หาเร็วไว
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 16

    ตอบลบ
  38. เป็นงัยค่ะตอบได้รึป่าว?เฉลยให้ก็ได้ค่ะ
    1.ตอบ 18
    2.ตอบ.15เพราะ 35+25+15=75
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 16

    ตอบลบ
  39. เดี๋ยววันนี้พอแค่นี้ก่อนนะค่ะ รบกวนสรัญยามานานแล้วค่ะพอดีมาใช้คอมที่บ้านเพื่อนค่ะ.bye bye.
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่16

    ตอบลบ
  40. เอากลอนไร้สาระแต่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาฝากให้ครูิ่อ่านขำๆค่ะ
    "คงไม่เจอใจฉัน
    งั้นลองอินเตอร์เซกชั่น
    ใจฉันกับเธอไง
    มันคงไม่เป็นเซตว่าง
    วางเวงเวิ้งว้างใช่ไหม
    งั้นลองยูเนี่ยนใจสองใจ"
    นางสาว สุภัสสร เปรี้ยวพา ชั้น ม.5/1 เลขที่ 37

    ตอบลบ
  41. คำคมของอัลเบิร์ต ไอสไตน์
    “แรงโน้มถ่วงไม่สามารถทำให้คุณตกหลุมรักได้”
    อัลเบิร์ต ไอสไตน์

    “แมลงเดินอยู่บนพื้นโลกใบนี้โดยที่มันไม่มีทางรู้ว่า..มันกำลังเดินอยู่บนพื้นผิวที่โค้งกลมของโลก...
    แต่ผมดีใจที่ผมรู้”
    อัลเบิร์ต ไอสไตน์

    ตอบลบ
  42. คมคมหนังดังก็มานะครับ
    “บางสิ่งที่เราค้นหา เราอาจไม่พบมัน....แต่เมื่อเราหยุดค้นหา มันกลับมาหาเราเอง”
    หมานคร

    “คนแพ้ก็กลับบ้านไป๊!”
    2Fast 2Furios

    This is a Book!
    ถั่วแระ(มือปืน โลก/พระ/จัน)

    “พลังที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง”
    Spiderman II

    สุดท้ายคำคมใครไม่รู้ผมไม่เข้าใจ(รึเปล่า)
    Oh!....yeah…Ah!...Ah!...Ah!...Oh!
    Umm!!!.....Yeah!!....Oh!...Zeedddd!!...Ahhhh!
    น้องแนท

    ตอบลบ
  43. โฮ้ผ่านไป1วันกระ?ู้นี้ได้รับความตอบรับอย่างล้นลาม
    ของเค้าดีจริงๆ(คะแนน+เกรด4นะครับที่ว่าดีน่ะ)

    ตอบลบ
  44. หวัดีค่ะครู ดี๊ดีนะคะ ที่เปิดบล็อกไว้แบบนี้จะได้เมนต์ถามครูตลอด เวลาเรียนไม่เข้าใจ
    นางสาว ธิติมา มูลวันดี ม.5/1 เลขที่ 16

    ตอบลบ
  45. สวัสดีค่ะ เปิดบล็อกแบบนี้ดีนะคะ จะได้ถาม-พูดคุยเรื่องเรียนได้ตลอดเวา
    นางสาว อลิสา นาใจเย็น ม.5/1 เลขที่ 23

    ตอบลบ
  46. Hello! yes, just empty enough so , come to talk too thank please yes , for the data about story the statistics please yes.
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  47. สวัสดีตอนเช้าค่ะ
    วันนี้หนูมีเรื่องจะเล่าให้ครูฟังเ มื่อคืนหนูเผลอหลับแล้วฝันเห็นกลอนที่เขาเขียนไว้พอตอนเช้าตื่นขึ้นมาเผอิญว่าจำได้และเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เลยเอามาฝากให้ครูได้อ่านด้วย

    "ตรรกศาสตร์อาจถูกหรืออาจเท็จ Tแล้วFเป็นเท็จก็ไม่ใช่
    หรือจะบ่งปริมาณหารคูณไซร้ แต่ว่าใจแน่นิ่งจริงและจริง
    สมการหารลบพบคำตอบ แต่อยากมอบหนึ่งใจไว้ตัวแปร
    หากโจทย์นั้นฉันไซร้ไม่อาจแก้ เหลือเพียงแต่หนึ่งใจไว้ให้เธอ
    จำนวนจริงสิ่งใดในโลกนี้ วันเดือนปีที่ผ่านการคิดค้น
    จำนวนนับกับรักซักกี่คน ใจที่ปนจนทุกข์สุขไม่มี
    ปริมาตรคาดเคลื่อนเตือนสติ สามมิติตรีโกณซายคอสแทน
    มุมเซต้าอัลฟ่าค่ามาแสน จะเป็นแกนXYคล้ายกับเธอ
    มีพื้นที่กี่ตารางต่างกันไป แต่ทำไมใจฉันนั้นมีหนึ่ง
    พื้นที่ใดใจฉันมันคิดถึง เฝ้ารำพึงถึงเธอเสมอมา
    จะเก็บใจเธอใส่ในเซตว่าง อยู่ตรงกลางระหว่างเธอกับฉัน
    แล้วยูเนียนเขียนใจกันและกัน สมาชิกความสัมพันธ์ของฉันเธอ
    จะเก็บใจเธอใส่ในซับเซต อินเตอร์เซกความรักสลักจิต
    คอมพรีเม้นถีบกระเด็นพวกเห็นผิด แล้วก็ปิดปีกกาของฉันเธอ
    เส้นขนานนานเข้าเราก็ห่าง เป็นที่ว่างกลางใจไว้คิดถึง
    ได้แค่มองสองตาว่าอยากซึ้ง ให้คนหนึ่งปิดเซตว่างข้างหัวใจ"
    นางสาว สุภัสสร เปรี้ยวพา ชั้น ม.5/1 เลขที่ 37

    ตอบลบ
  48. อ่านไม่ออกใช่ไหม่ค่ะเดี๋ยวแปลให้ก็ไดค่ะ
    สวัสดีค่ะ พอดีว่างๆก็เลยมาคุยด้วยนะขอบคุณนะค่ะสำหรับ
    ข้อมูลเรื่องสถิตินะค่ะ
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  49. เดี๋ยวพอแค่นีก่อนนะค่ะจะไปโรงเรียนแล้วค่ะ
    นางสาว สรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  50. สวัสดีค่ะ
    พอดีสร้างเมลล์เสร็จแล้วก็เลยมาเมนต์ให้ใหม่นะค่ะ
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 16

    ตอบลบ
  51. ก่อนไปอยากบอกว่า รักและเคารพค่ะ เดี๋ยวมาเมนต์ให้ใหม่นะค่ะ
    นางสาว ธนพร อุดรเขตร ม.5/1 เลขที่16

    ตอบลบ
  52. เนื้อหาดีมากเลยครุ.....///***
    แต่ม้ายเข้าจายเลยอ่ะครุ.../////...*_*
    นาย วุฒิศักดิ์ หมื่นทะยศ 5/2

    ตอบลบ
  53. ดีครับ อาจารย์
    เอ่อ ผมอยากทราบว่า เรื่องสถิติอนามัย ในหนังสือมัน
    มีด้วยหรอครับ ทำไมอ่านแล้ว ไม่เจอเลยอ่ะครับ
    ถ้า อยู่จา มีเรื่องใหม่ เอามาให้อ่านอีกนะครับ




    นาย ประวิทย์ อัตรา เลขที่ 1 ม.5/2

    ตอบลบ
  54. สวัสดีค่ะ!
    วันนี้หนูก็มีอะไรจะถามอีแล้วค่ะ
    วัดด้านยาว สิบหกเส้น เห็นชัดแจ๋ว
    ส่วนด้านกว้าง สิบสองเส้น เห็นเป็นแนว
    อยากปั้นแถว คันนา ให้น่ามอง
    เป็นบล็อกรูป จัตุรัส วัดเป็นเส้น
    ดูงามเด่น เกินกว่า นาทั้งผอง
    จัตุรัส ใหญ่สุด ขุดคันคลอง
    หนึ่งด้านต้อง ยาวเท่าใด ให้บอกที
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  55. ครูค่ะช่วยตอบอีกสักข้อนะค่ะ
    ชายคนหนึ่ง ซึ่งตาย วายชีวิต

    ได้ลิขิต พินัยกรรม อันล้ำค่า

    ให้แก่ลูก ทั้งสาม ตามกันมา

    มีฝูงลา เบ็ดเสร็จ สิบเจ็ดตัว

    แบ่งให้ลูก บุญถึง หนึ่งในสอง

    ให้บุญครอง หนึ่งในสาม นับตามหัว

    น้องบุญทิ้ง หนึ่งในเก้า ให้เจ้าชัวร์

    ห้ามผ่าตัว ตัดขา มาแบ่งกัน

    จะแบ่งปัน อย่างไร ใครรู้บ้าง

    ทุกคนต่าง พอใจ ในแบ่งสรร

    ขอท่านจง เฉลย เอ่ยบอกกัน

    อย่าดึงดัน ฆ่าลา มาแบ่งเอย
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  56. Dee ครับ แต่ผมว่าน่าจะหาสีสันใส่มั่ง
    จะได้ดูน่าสนใจ








    อภิวัฒน์ 5/2

    ตอบลบ
  57. อีกสักข้อนะค่ะ
    สองจำนวน รวมกัน นั้นได้ห้า

    ลบกันมา เหลือหนึ่ง พึงเฉลย

    ว่าตัวมาก เท่าไร ให้บอกเลย

    จงภิเปรย เล่าแจ้ง แถลงมา
    หากชายสาม หญิงสี่ นี้สร้างบ้าน

    สิบสี่วัน เสร็จงาน การสร้างสรรค์

    ถ้าชายสิบ หญิงสิบห้า มาสร้างกัน

    เพียงสี่วัน ก็เสร็จ สำเร็จงาน

    ความสามารถ ของชาย หลายคนนี้

    หนึ่งคนเปรียบ เทียบหญิงมี ได้กี่ท่าน

    หากให้ชาย สิบคนต่าง ก่อสร้างกัน

    บ้านหลังนั้น จะแล้วไว ในกี่วัน
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  58. ข้อสุดท้ายแล้วค่ะ
    สามจำนวน เรียงกัน นั้นตัวไหน

    รวมกันได้ สี่สิบห้า น่าฉงน

    ใครหารเป็น ก็หาได้ ไม่กังวล

    ขอเชิญคน รอบคอบ ช่วยตอบที
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  59. เป็นงัยค่ะตอบได้สักข้อใหมค่ะ?
    ถ้าตอบไม่ได้ก็เก็บไว้ไปถามนักเรียนซิค่ะเผื่อเขาตอบได้
    วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะค่ะ
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  60. ครูค่ะหนูลืมบอกว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่หนูชอบมากเหมือนกัน
    กับครูนั้นแหละค่ะแต่หนูก็ไม่ค่อยเข้าจัยหรอกค่ะ
    โดนเฉพาะเรื่อง สถิติ แต่จะพยายามค่ะ
    นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  61. สวัสดีก่อนไปนะค่ะ
    วันนี้หนูต้องไปทำงานบ้านแล้วค่ะ
    "bye bye" นางสาวธนพร อุดรเขตร์ ม.5/1 เลขที่ 15

    ตอบลบ
  62. จารย์ ครับขอให้กินข้าวอร่อยเด้อ
    คับผม

    ตอบลบ
  63. หวัดดีค่ะ
    วันนี้ก็มีอะไรจะถามเช่นเคยแต่ว่าเพื่อนเขาถามเยอะแล้ว
    กลัวว่าครูจะตอบไม่ไหวแต่ยังงัยครูคงมีเวลาตอบนะค่ะเพราะ
    ครูเก่ง>_<Zzz
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  64. ไปฟังคำถามข้อแรกกันเลยนะค่ะ
    มดตัวหนึ่ง อลวน ขนข้าวสาร
    ในครัวบ้าน หลังหนึ่ง ซึ่งเผลอไผล
    คีบด้วยปาก ลากขน วนทางไกล
    วันหนึ่งได้ สิบเมล็ด เหน็ดเหนื่อยจัง
    หากมีมด พันตัว ในครัวนี้
    ต่างเร็วรี่ ลักข้าว ขาวในถัง
    สี่สิบวัน ข้าวหมด มดเบียดบัง
    รู้หรือยัง ข้าวมี กี่ทะนาน
    ถ้ายี่สิบ ทะนาน มีล้านเมล็ด
    หรือเบ็ดเสร็จ เป็นหนึ่งถัง ดั่งกล่าวขาน
    ข้าวถังละ ห้าร้อยบาท จงคาดการณ์
    ว่าข้าวสาร ที่หายนี้ กี่สตางค์
    คิดให้ออกนะค่ะ
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  65. ข้อต่อไปนะค่ะ
    โจทย์คำนวณมีที่มาพาให้คิด
    เลขคณิตเป็นลำดับลับสมอง
    หมั่นฝึกโจทย์วันละนิดคิดไตร่ตรอง
    แล้วค่อยลองไปเรื่อยเรื่อยเหนื่อยก็พัก
    ตัวอย่างโจทย์พจน์ที่สี่คือสิบเอ็ด
    พจน์ที่เจ็ดเป็นสิบห้าน่าสนใจ
    ผลต่างร่วมคือปุจฉาพาสงสัย
    คิดได้ไหมหาคำตอบมอบหน่อยเอย
    ลองคิดดูนะค่ะ>__<
    นางสาวสรํญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  66. ตอบให้ได้นะค่ะเดี๋ยวจะรอคำตอบจากครูค่ะ
    แต่ถ้าตอบไม่ได้จริงๆเอาไว้ถามกับเพื่อนๆของหนูในห้องก็ได้นะค่ะ
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  67. ไม่ถามแล้วนะค่ะเดี๋ยวครครูปวดหัว
    แต่เปลี่ยนเป็นฟังกลอนDDคลายเครียดแล้วกันนะค่ะ
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  68. โอ้!! พระเจ้าจอร์จมันยอดมาก
    ดังจากปากกุเนี้ยมีไรไหม
    ใครจะพูดใครจะจาก็ว่าไป
    กุติดใจกับคำพูดเมื่อเช้าพอ
    เรียนคณิตยิ่งคิดยิ่งเซงจิต
    ไม่เคยคิดไม่เคยฝันมาก่อนหนอ
    ด่าไม่ยั้งไม่ทันมึ้งไม่รีรอ
    หูแทบฝ่อครูหนอว่ากันได้
    ลอกข้อสอบธรรมดาของเด็กวิทย์
    ครูจะคิดเข้าใจกันบ้างไหม
    ลอกข้อสอบไม่ใช่ไปฆ่าใคร
    ด่าเข้าไปว่าทำไมเป็นอย่างนี้
    อยู่มานานไม่เคยพบไม่เคยเห็น
    พูดเน้นเน้นพูดซ้ำซ้ำอย่างได้ที
    เป้นเด็กศิลป์จะเสียใจน้อยกว่านี้
    โธ่!!อีปี้พวกเราก็เด็กนะสาด
    ครูไม่อยากจะพูดแต่ก็พูด
    ทำหน้าบูดแล้วพูดว่า "เสียดายกระดาษ"
    แต่จริงจริงไม่เสียดายนะสาด
    แต่ครูขาดความเชื่อมั่นในตัวเธอ
    ต่อไปนี้ครูจะเชื่อได้เยี่ยงไร
    พูดวนอยู่ได้รำคาญนะเออ
    ต่อไปนี้เราจะพูดแค่ว่า "เหรอ"
    เซงจัง เฮ้อ!แล้วครูเธอก็เดินไป
    พอครูไปจิตใจนั่นระรื่น
    เหมือนพึ่งตื่นฟื้นคืนจากเปลวไฟ
    หลังจากนั้นเริ่มนินทากันเข้าไป
    เอาแล้วไง คาบต่อไปทำไงดี
    ถึงคาบนั้นคงมองหน้ากันไม่ติด
    ไม่อยากคิดว่าคณิตเรียนทั้งปี
    แล้วจะเอายังไงกันละนี้
    พอซะทีลงพิรี้ร้ำพิไร
    พอละพอเลิกคิดเลิกแต่งกลอน
    จะไปนอนกอดหมอนให้อุ่นใจ
    ก่อนจะจากอยากจะพูดคำออกไป
    ว่าเด็กไทย เรียนคณิต เซงจิตเอย
    เพาะเปล่าค่ะ?นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  69. กลอนเมื่อกี๊หนูล้อเล่นนะค่ะขำขำค่ะ
    วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะค่ะ "สวัสดีค่ะ"
    นางสาวสรัญยา โพธิ์คำ ม.5/1 เลขที่ 20

    ตอบลบ
  70. หวัดดีค๊าบ คุณครู พงษ์เทพ ที่รักของใครหลายคน
    เนื้อหาที่ดูนี้ ดดดดดดดดีมากคะ
    รักจังง

    ตอบลบ
  71. ดีค่ะอาจารย์....
    หารายหม่ำยางค่ะจาร
    พิมผกา 5/2...ค่ะจุ๊ฟๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  72. ก็มีเนื้อหาสาระดีค่ะจุฟๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    เกศแก้ว 5/2 สวยค่ะ.....

    ตอบลบ
  73. หวัดดีคะ คุณครู พงษ์เทพ
    เนื้อหาดีคะ และนู๋คิดว่านู๋เข้าใจ **มั๊งคะ**

    ศิริการณ์ 5/2

    หวัดดีคะ

    ตอบลบ
  74. Deeนร้าคร้าคุนครุผู้น่าร๊ากเนื้อหา...ต้องยกนิ้วห้ายเลยอ่ะ
    แต่ยางงายหารายหม่ำด้วยน่ะคร้าปายแหละ....จุ๊ฟๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    นางสาวแสนสวย ..ภาวดี 5/2 คร้า....

    ตอบลบ
  75. DDDDDDคะ
    นู๋มีนามว่า อมรรัตน์ นั่งเม่อคะ
    รู้มั้ยคะว่าทำไมหนู๋ถึงนั่งเม่อ
    เพราะว่านู๋นนน ไม่บอกคะปลอยหั้ยงง
    หวัดดีคะ
    อิอิอิอิอิ งงเอางงอะดิ
    อมรรัตน์นะคะไม่ใช่ศิริการณ์

    ตอบลบ
  76. หวัดดีอะ
    มาเม้นให้แล้วเด้อค่ะคุณครูพงษ์เทพ
    อย่าลืมให้คะแนนหนูแนเด้อ

    ยุวดี อินทร์อุดม 5/2

    ตอบลบ
  77. ดีคร้าคุรเนื้อหาเยี้มม๊ากคร้าหนูชอบ
    .....หารายหม่ำนร้าคร้าอาจาร
    ....*_* สรินนา 5/2 สวยคร้าแอ๊บแบ๊วคร้า.....

    ตอบลบ
  78. คุณครูขาวันนี้หนูมาแปลก
    หนูอยากมาแสดงความคิดเห็นให้หนูทำนำแหน่เด้อ
    ข้อความของคุณครูหนูอ่านแล้วก็พอดูได้
    วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะค่ะวันหน้าหนูจะมาใหม่ ฮิฮิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    จิตติคุณ กัณภูเขียว 5/2

    ตอบลบ
  79. เวลาที่ครูสอนหนูชอบตรงที่ครูแสดงวิธีทำแล้วอธิบายเป็นขั้นตอนเขียนให้ดูที่หน้ากระดานมากกว่าคะ

    ตอบลบ
  80. คำพูดของครูทำให้หนูคิดได้หลายเรื่องนะคะถึงแม้ว่าหนูก็เคยพลาดพลั้งไปบางแต่ตอนนี้หนูลุกขึ้นยืนสู้ใหม่ได้แล้วค่ะ เป็นกำลังใจให้หนูด้วยนะคะ

    ตอบลบ
  81. ไม้เรียวที่ครูถือ ชอล์กอยู่มือที่เคยเขียน
    สั่งสอนศิษย์ให้พากเพียร ฝึกอ่านเขียนใช้ปัญญา
    (หนูแต่งเองเลยนะคะเนี่ยเพราะไหมคะ)

    ตอบลบ
  82. หวัดดีคะ หนูมีข่าวประชาสัมพันธ์ในฐานะว่าที่ผู้ประชาสัมพันธ์ของว่าที่ท่านประธานนครินทร์ ใจสุข ขอเชิญครูได้ร่วมลงคะแนนให้พรรค Democracyทำดีเพื่อวังหลวงด้วยนะคะ

    ตอบลบ
  83. (หนูมีกลอนมาฝากอ่านก่อนนอนค่ะ)
    “ครู” ประดุจ “เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ
    “ครู” ควรเทียบฟ้ากระจ่างกว้างไพศาล
    “ครู” ตักเตือนเมตตา-อภิบาล
    “ครู” สอนสั่งวิชาการ...วิชาคน

    เป็นผู้แนะนำให้ได้ประจักษ์
    ว่าด้วยหลักวิทยา – หาเหตุผล
    และเตือนย้ำคุณธรรมประจำตน
    นั้นจะดลให้ชิวิต “ศิษย์” ได้ดี

    หากแนวทางที่ “ลูกศิษย์” คิดผิดพลาด
    “ครู” ไม่อาจภาคภูมิได้ ในศักดิ์ศรี
    ประหนึ่งว่าคนพาย “เรือจ้าง” ลำนี้
    ทำหน้าที่ขาดตกบกพร่องไป

    เรือเทียบฝั่งเข้าส่งตรงริมท่า
    “คนโดยสาร” รู้เถิดว่า เหนื่อยแค่ไหน
    “คนพายเรือ” ถ่อนำค้ำด้วยใจ
    ขอเพียงให้ “ศิษย์” สมหวังดังกมล

    “ครู” ประดุจ “เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ
    “ครู” ควรเทียบแสงสว่างกลางไพรสณฑ์
    เป็นแสงทองส่องชี้ชีวิตคน
    พระคุณล้นเกินรำพรรณจำนรรจา

    แม้ไม่มีข้าวตอก- ดอกไม้หอม
    ประดับพร้อมเป็นพุ่มพานอันหรูหรา
    แต่ขอนำจิตร้อยถักอักษรา
    ประณตน้อม “สักกาฯ” พระคุณ “ครู”

    ตอบลบ
  84. อีกไม่นานหนูก็คงจะไม่ได้เรียนกับครูแล้วเพราะว่าต่อไปอยู่ ม.6 อาจจะเป็น
    ครูสธินันท์ มาสอนแทนใช้ไหมคะ

    ตอบลบ
  85. "ครูขีดเขียนบอกเล่าเหล่าลูกศิษย์
    ครูชี้ทิศวิชาพาสั่งสอน
    ครูรักศิษย์พิสมัยใจอาทร
    ครูอาวรณ์อยากให้ศิษย์คิดชัดเจน "

    ตอบลบ
  86. หนูเป็นคนชอบวิชาคณิตศาสตร์การคำนวณม๊าก..มากเลยค่ะ
    ในอนาคตหนูก็คิดที่จะเรียนศึกษาศาสตร์ สอนคณิตศาสตร์ที่ ม.ขอนแก่นแต่กลัวว่าจะสอบไม่ได้น่ะค่ะครูมีคำแนะนำหรือเคล็ดลับอะไรดี ๆ ที่จะทำให้หนูสอบได้ไหมคะช่วยบอกหนูหน่อยค่ะ

    ตอบลบ
  87. สัปดาห์นี้หนูรู้สึกเหนื่อยล่ากับการเรียนมากเลยค่ะเพราะงานเยอะมาก จนไม่รู้จะเริ่มทำอะไรก่อนดี แต่ขณะนี้สบายใจแล้วค่ะเพราะงานเสร็จแล้ว เย่ !

    ตอบลบ
  88. หนูอยากจะไปเล่นบาสกับครูนะคะแต่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดินทางและสุขภาพนิดหน่อย อีกทั้งกิจกรรมที่หนูทำก็เยอะด้วยค่ะ จึงไม่สามารถเล่นได้

    ตอบลบ
  89. " ใครคือครูครูคือใครในวันนี้
    ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล
    ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์
    ใช่อยู่นานสอนนาน ในโรงเรียน
    ครูคือผู้ชี้นำทางความคิด
    ให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน
    ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร
    ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้การงาน
    ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์
    ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน
    ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์
    มีดวงมาลเพื่อมวลชนมิใช่ตนเอง
    ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง
    สร้างความจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง
    สร้างคนให้เป็นตัวของตัวเอง
    ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู "

    ตอบลบ
  90. ตอนนี้ก็ 4 ทุ่มแล้ว หนูรู้สึกง่วงนอนมาก
    เอาไว้วันหลังหนูจะมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่นะคะ
    แล้วว่าง ๆ ครูก็ส่ง mail ไปทักทายกันหน่อยนะคะ muj
    MAYNOI_LADY@hotmail.com จ้า Bye...Bye

    ตอบลบ
  91. สงสัยว่า ทำไมเข้ามายากจัง
    แต่ก้อดีนะค่ะ คุณครู
    ที่รักของใครหลายโคคน
    08/5/2

    ตอบลบ
  92. หวัดดีคร๊าบ คุณครู
    เนื้อหาก้อเหมือนเดิมนะคะ
    สบายสบาย จริงไหมคะ
    13/5/2

    ตอบลบ
  93. ทำไมคุณครูไม่เปลี่ยนรูปสักทีละคะ
    น่าจะเอารูปหล่อหรือ
    เทห์กว่านี้นะไปละ
    27/5/2

    ตอบลบ
  94. ดีไหมคะที่คุณครูทำแบบนี้
    มันไม่มีเวลาว่างที่จะมาเม้นแบบนี้นะคะ
    แต่นู๋ก้อต้องหาเวลามาเม้นอยู่ดี
    กลัวว่าจะไม่ได้คะแนน
    25/5/2

    ตอบลบ
  95. มาอีกแล้วนะคะคุณครู
    นู๋มาเม้นให้อีกตามเคย
    จะได้คะแนนเยอะแยอะ
    ไปละ
    12/5/2

    ตอบลบ
  96. หวัดดีอีกรอบนะคะ
    นู๋กลัวว่านู๋จะไม่ได้คะแนน
    เยอะก้อเลยส่งมาอีกคะ
    ไปแล้วนะคะ
    13/5/2

    ตอบลบ
  97. ความว่างเปล่า
    ก้อเหมือนกับคนไร้เงา
    28/5/2

    ตอบลบ
  98. สวัสดีคะ
    นู๋เข้ามาเพื่อจะมาเอาคะแนนคะ
    ไปแล้วนะคะหวัดดีคะ
    17/5/2

    ตอบลบ
  99. ดีนะค่ะที่มาเปิดบล็อกไว้อย่างนี้เด๋วเรียนไม่เข้าใจจะเมนต์มาถามนะค่ะ
    31 ม.5/2

    ตอบลบ
  100. เปิดอ่านข้อความที่อาจารย์หามาให้ดูได้ความรู้มากเลยค่ะ
    30 ม.5/2

    ตอบลบ
  101. หวัดดีคะนู๋เข้าม่เม้นแล้วนะคะ
    เนื้อหาก้อดีคะ
    10/5/2

    ตอบลบ
  102. เข้ามาแล้วจ้า
    เนื้อหาเข้าใจดีมั๊งคะ
    14/5/2

    ตอบลบ
  103. หวัดดีค่ะ มาแว้วจ้า
    เข้าใจแล้วนะค่ะ"ขอบคุณนะค่ะ"
    205/1

    ตอบลบ
  104. ครูค่ะทำมัยไม่เพิ่มข้อมูล
    เรื่องอื่นบ้างละค่ะจะได้ความรู้เยอะๆ
    205/1

    ตอบลบ
  105. สวัสสดีค่ะมาอีกแว้ว!
    เนื้อหาเรื่องสถิติใช้ได้เลยค๊า(ขอบคุณนะค่ะที่เอามาให้อ่าน)
    205/1

    ตอบลบ
  106. เดี๋ยวเอากลอนมาฝากให้ฮากันนะค่ะ
    แต่ตอนนี้ยังคิดมั่ยออกค่ะ
    รอสักครู่ค่ะ จะมาเมนต์ใหม่
    205/1

    ตอบลบ
  107. เป็นความรู้ที่ดีมากเลยยยคร๊
    ทำหั้ยเข้าจายนัยเรื่องสถิติมากขึ้น
    25/5/1

    ตอบลบ
  108. ข้อมูลของ ครูก็ดีมากเลยนะค่ะ
    อ่านเเล้วได้ความรู้มากขึ้นคร๊
    19/5/1

    ตอบลบ
  109. ถ้าไม่มีความทุกข์
    เราก็ไม่รู้ว่าสุขเป็นอย่างไร
    025/1

    ตอบลบ
  110. บางครั้ง การได้ฝันไปคนเดียว มันก็ดีกว่าการได้รู้ความจริงที่ว่า สิ่งที่เราคิดทั้งหมด มันคือความฝันของเราเองเพียงคนเดียว ฉะนั้น ไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะจมกับความฝัน

    ตอบลบ
  111. ถ้าคุณต้องการความสำเร็จมากขึ้นหนึ่งเท่าตัว จงเพิ่มความล้มเหลวเป็นสองเท่าตัว
    025/1

    ตอบลบ
  112. เนื้อเรื่องก็ดีครับแต่ยังอ่านไม่จบอ่านได้ช่วงต้นอ่ะครับ
    ปวดตามากก็เลยพักไว้ก่อนเดี๋ยวมาอ่านต่อครับ(รัักษาสายตาว่างั้น)
    025/1

    ตอบลบ
  113. "ในชีวิตนั้น มีคำถามอยู่ 3 คำถามที่จำเป็นต้องถามกับตัวเองอยู่เสมอ ๆ นั่นคือ ดีหรือเลว? จริงหรือเท็จ? งามหรืออัปลักษณ์? และการศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องช่วยเราตอบคำถามเหล่านั้น"

    ตอบลบ
  114. "บ่อยครั้งที่จินตนาการ นำเราไปสู่โลกที่ไม่มีอยู่จริง แต่ถ้าปราศจากจินตนาการ เราก็จะไม่ได้ไปที่ไหนเลย"
    025/1

    ตอบลบ
  115. ดีครับ อาจายร์

    อ่านแล้วก็ โอเค ครับ

    แต่ผมอ่านไม่ได้หมด หลอกครับ

    อ่านไปอ่านมาปวดหัวเลยอ่ะครับ

    เลยพักเดี๋ยว ว่างๆๆๆ จามาอ่านต่ออ่ะครับ

    เนื้อหาก็โอเค ครับ แต่ถ้ามีเนื้อหาใหม่ๆๆ นุกๆๆ

    ก็เอามาให้อ่านอีกนะครับ

    01 / 5/2 / 20/02/2553

    ตอบลบ
  116. "การเดินทางแม้ไกลหมื่นลี้ก็ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรกเสมอ"
    025/1

    ตอบลบ
  117. รู้เรื่องนิดหน่อยกับเรื่องที่อ่าน
    "ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี"
    025/1

    ตอบลบ
  118. ข้าพเจ้านำความฝันไปกับข้าพเจ้าด้วย แต่ความฝันของข้าพเจ้าจะไม่สูญหายไปจากมนุษยชาติ มันจะเป็นของท่านในวันที่โลกได้เรียนรู้มากพอที่จะได้รับประโยชน์จากมัน และฉลาดพอที่จะไม่ใช้มันไปในทางที่ผิด
    025/1

    ตอบลบ
  119. ทุกความงามเกิดได้...เพราะความรัก เพราะหัวใจมีรัก .....โลกจึงหมุน
    หากฝันหวาน...พารักแท้....มาเจือจุน อยากให้หล่น...."ในใจคุณ" ... นิจนิรันดร์

    025/1

    ตอบลบ
  120. หวัดดีอีกสักครั้งนะค่ะ
    อุปสรรคมีไว้ฟันฝ่า ปัญหามีไว้แก้ มีแต่คนที่ยอมแพ้ที่หนีปัญหา
    205/1

    ตอบลบ
  121. สวัดดีค่ะ นู๋มาเม้นและก็อ่านแล้วนะค่ะแต่ยังไม่จบเดี๋ยวว่างๆมาอ่านให้จบ






    375/1

    ตอบลบ
  122. สวสดีค่ะ มารายงานตัวค่ะ
    29 5/1

    ตอบลบ
  123. ขอบคุณสำหลับเนื้อหาดีดี นะค่ะ
    เดี๋ยวแวะมาดูใหม่นะค่ะ

    29 5/1

    ตอบลบ
  124. แวะมาทักทายอีกแล้วนะค่ะ

    ไปแล้ว จ๊ะ มานั่งอ่านเนื้อหาดูก็ ดีเลยนะค่ะ

    29 5/1

    ตอบลบ
  125. ไปแล้วนะค่ะ

    วันหน้าเดี๋ยวมา เม้นให้ อีกเยอะๆๆๆ เลยนะค่ะๆๆๆ

    29 5/1

    ตอบลบ
  126. ดีคร๊
    อ่านเเล้วเข้าจายดีมากๆ
    โดยเฉพาะเรื่องสถิติ
    เข้าใจเพิ่มขึ้นมากๆเลยยยยยยยยยย
    36/5/1

    ตอบลบ
  127. ดีจร้า
    พึ่งรุนะคร๊ว่า
    อนามัยก้อนำมาจัดสถิติได้ด้วย
    ไม่รุมาก่อนเลย
    25/5/1

    ตอบลบ
  128. ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆที่นำมาไว้ให้พวกเราได้อ่านกันนะค่ะ

    ตอบลบ
  129. นำความรู้ดีๆแบบนี้มาฝากให้พวกเราได้อ่านอีกนะคะ
    375/1

    ตอบลบ
  130. หวัดดีตอนเย็นๆๆๆๆๆๆๆๆนะคร๊
    หารัยหม่ำด้วยนร้าค่ะ
    25/5/1

    ตอบลบ
  131. หวัดดีคร๊
    ก้อดีคร๊
    ได้ความรุดีมากๆเลยยยยย
    33/5/1

    ตอบลบ
  132. ดีคร๊
    ก้อมีความรุสึกว่า
    เข้าใจเรื่องสถิติมากขึ้นเยอะเลย
    34/5/1

    ตอบลบ
  133. No man is fit to command another
    who can't command himself.
    คนที่ไม่สามารถบัญชาตัวเองได้
    ย่อมไม่เหมาะสมที่จะบังคับบัญชาคนอื่น

    ตอบลบ
  134. หวัดดีคะ วันนี้คุณครูเคลียจจังเลย

    สู้สู้นะคะ

    ไม่เป็นไรใครเค้าจะพูดยังไง

    ก้อเป็นกำลังใจให้นะคะ

    13 5/2

    ตอบลบ
  135. หวัดดีค่ะ
    อาจารย์
    อยากรู้เกรดจังค่ะ
    บอกหน่อยได้ไหมคะ
    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ